วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น
2.โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
4.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
5. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
ความคิดเห็นของกลุ่ม

จากการศึกษาประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้จัดทำได้ทราบว่า โครงงานคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท รายละเอียดของแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง  ทำให้ผู้จัดทำสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างสรรค์ผลงานให้ถูกประเภทยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้


ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
            การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานเป็นการดำเนินงานที่ต้องตัดสินใจทำโครงงานให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  คือ
                        1. การเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน
                        2. การศึกษาข้อมูลโครงงาน
                        3. การวิเคราะห์โครงงาน
1. การเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน
มีหลักการพิจารณาดังนี้
            สำรวจความถนัด  ความพร้อมและความสนใจ
             สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก
            สังเกตสภาพแวดล้อม
1.1   สำรวจความถนัด    ความพร้อมและความสนใจ    หมายถึง    การพิจารณาตนเองว่ามี
ความถนัด  ความพร้อมและความสนใจที่จะทำโครงงานในเรื่องที่ตนเองมีความชอบและรักกที่จะทำอย่างแท้จริง  โดยสำรวจตนเอง  ดังนี้  คือ
-   เคยเรียนวิชาใด  หรือมีความรู้ในวิช่างต่าง ๆ  ที่จะทำโครงงานหรือไม่ผลการเรียนหรือเคยฝึกงาน  มีประสบการอย่างไรบ้าง
-  ปรึกษาครู  อาจารย์ฝ่ายแนะแนว  หรือครู  อาจารย์ที่ตนเองสนใจในวิชานั้น  เพื่อขอทราบรายละเอียดความชอบ  ความถนัด  หรือบกพร่องในสิ่งใด  สำหรับนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงาน
-  เคยชอบและรักที่จะทำเรื่องใดมาบ้าง  หรือเมื่อทำมาแล้ว  ได้รับความสำเร็จหรือล้มเหลวในงานที่ทำหรือไม่
            เมื่อได้สำรวจตนเองดังหัวข้อดังกล่าว  จึงเรียงลำดับความสำคัญของชื่อโครงงานที่จะทำ
            1.2  สำรวจสิ่งอำนวยความสะอาด  หมายถึง  การสำรวจข้อมูลต่าง  ๆ  ที่จะอำนวยความสะดวกให้การทำโครงงานได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น  ทำให้โครงงานได้รับความสำเร็จด้วยดี  ได้แก่
-        เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
-        การสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน
-        สถานที่ปฏิบัติงาน
-        เงินค่าใช้จ่าย  เพื่อศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม
1.3  สังเกตสภาพแวดล้อม  หมายถึง  การสังเกตสิ่งต่าง  ๆ  ที่อยู่ใกล้สภาพแวดล้อมที่จะดำเนินงานตามโครงงาน  มีผลกระทบต่อโครงงานที่ทำให้เกิดผลดีหรือเสียหาย  และเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานอย่างไร  ได้แก่ 
-        การขยายโครงงาน  ทำได้หรือไม่เพียงใด
-        ระยะทางและการเดินทางไปปฏิบัติงาน
-        ผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อมและแนวทางแก้ไข สภาพปัญหาของโครงงาน
สรุปแล้ว  การเงือกหัวข้อโครงงานนั้น  จะต้องจัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเลือกหลาย  ๆ  หัวข้อ  โดยพิจารณาจากหัวข้อที่ตนเองมีความรู้  ความถนัด  ความพร้อมและความสนใจในงานนั้น  ๆ  มากท่าสุดรวมทั้งการหาแนวทางที่จะขจัดปัญหาต่าง  ๆ  โดยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้พร้อม  และผลกระทบต่าง  ๆ  จากสภาพแวดล้อมที่อยู่ข้างเคียง
2.  การศึกษาข้อมูลโครงงาน
การศึกษาข้อมูลโครงงาน  เป็นงานที่สนับสนุนให้งานที่ปฏิบัติสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ทำให้เกิดแนวความคิดและประสบการณ์อย่างหลากหลาย   โดยการศึกษาหาข้อมูลได้จากแหล่งต่าง  ๆ  ดังนี้
            2.1   การศึกษาเยี่ยมชมกิจการตามแหล่งวิชาการต่าง  ๆ  เช่น  ฟาร์มเลี้ยงสัตว์  สวนผัก  สวนผลไม้  สวนดอกไม้ประดับ  วนอุทยาน  สถานีวิจัยทางการเกษตร  สถานีทดลองพืชไร่  พืชสวน  ศูนย์ธุรกิจการค้าต่าง  ๆ  โรงงานอุตสาหกรรม  ศูนย์ศิลปาชีพ  บริษัทร้านค้าต่าง  ๆ  ฯลฯ 
            2.2    การฟังคำบรรยายทาวิชาการจากที่ประชุมสัมมนาต่าง  ๆ  ที่จัดโดยทางราชการหรือเอกชน  รวมทั้งการฟังวิทยุ  และโทรทัศน์ด้วย
2.3       การศึกษาผลงานของผู้อื่นที่ทำไว้แล้ว
2.4       การสนทนากับเพื่อน  หรือครูอาจารย์ที่ปรึกษาและวิทยากรอื่น  ๆ
2.5       การเข้าชมนิทรรศการต่าง  ๆ  ทั้งของโรงเรียนที่จัดและงานมหกรรมต่างๆ
เช่น  งานศิลปหัตถกรรมและอาชีวศึกษาของกระทรวงการศึกษาธิการ  เป็นต้น
2.6       การสังเกตสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันหรือธรรมชาติรอบตัว
2.7      งานอดิเรกที่ตนเองชอบตนเองชอบและทำอยู่  หรือกิจกรรมการเรียน
สอนในโรงเรียน
3.  การวิเคราะห์โครงงาน
                การวิเคราะห์โครงงานอาจพิจารณาหัวข้อต่าง  ๆ  จากรายการข้างล่างนี้  โดยตัวนักเรียนหรือกลุ่มที่จะทำโครงงาน  เป็นผู้วิเคราะห์จากโครงงานที่ตนเอง  หรือกลุ่มกำหนดไว้อย่างหลากหลายโครงงาน  แล้วเลือกเอาโครงงานที่ตนเองเห็นว่าน่าจะทำที่สุด  โดยให้คะแนน  1,  2,  3  หรือ  4  ตามความเห็นชอบแล้วนำมารวมตัวเลขหากคะแนนที่ได้ที่จำนวนสูงกว่าโครงงานอื่น  ก็ควรพิจารณาจัดทำต่อ

ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล




                  ขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
         จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม

การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ


       จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข




การลงมือทำโครงงาน

1. การเตรียมการ
    1.1 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ สารเคมีและวัสดุอื่นๆให้พร้อม
    1.2 เตรียมสถานที่
    1.3 เตรียมสมุดบันทึก สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆระหว่างทำโครงงาน เช่นได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและวิธีแก้ไขอย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆที่พบ

2. การลงมือปฏิบัติ
    2.1 ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง (สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากพบว่าช่วยให้การทำงานดีขึ้น)
    2.2 จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆให้เสร็จก่อน แล้วจึงทำส่วนประกอบหรือส่วนเสริม เพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น
    2.3 ปฏิบัติการด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ ครบถ้วน
    2.4 ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
    2.5 คำนึงถึงความประหยัด ความปลอดภัย และระยะเวลาในการทำงาน

3. การวิเคราะห์และสรุปผล
    การวิเคราะห์และสรุปผลเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ มาจัดกระทำเพื่อนำเสนออย่างเป็นระบบและช่วยให้ผู้อื่นได้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น หาค่าเฉลี่ย หาค่าร้อยละ เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ แล้วอธิบายหรือแปลความหมายของข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ ต่อจากนั้นจึงสรุปผลการวิเคราะห์ด้สยข้อความสั้นๆ กระทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน

4. การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
    การอภิปรายผลเป็นการพิจารณาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แล้วพร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย

    ในการทำโครงงานที่เสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหาซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะให้เห็นถึงปัญหาที่ควรจะศึกษาและ/หรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้

ความหมายของรายงาน
        รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
        ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน
         

ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้
        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง

การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง
                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน

        2.  การเขียนคำนำ
             การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง

        3.  การเขียนสารบัญ             การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด


การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6  ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7


การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท

การนำเสนอโครงงาน



ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอโครงงาน

การนำเสนอโครงงานหรือการจัดแสดงผลงานเป็นงานขั้นสุดท้าย และมีความสำคัญ เพราะเป็นการแสดงผลิตผลของงานเป็นการแสดงความคิด  และความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป เป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น ๆ การจัดแสดงผลงานถ้าทำได้ไม่ดี      ก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดีความยอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง การนำเสนอผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบ อาทิ รูปแบบปากเปล่า  หรือแสดงในรูปแบบการจัดนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด จัดทำเป็นสิ่งพิมพ์ การนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ    ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด นักเรียนจะต้องเตรียมการเพื่อนำเสนอเป็น   3  ส่วนดังนี้

แผงแสดงผลงานโครงงาน

การจัดทำแผงเพื่อการนำเสนอผลงานโครงงาน
การจัดทำแผงโครงงานนั้นตัวแผงอาจทำด้วยไม้อัด  แผ่นพลาสติกทำบอร์ด (ฟิวเจอร์บอร์ด) กระดาษแข็ง  หรือกระดาษกล่องขนาดใหญ่  โดยแสดงในงานในโรงเรียน  เช่น  งานวันวิชาการ   วันสัปดาห์วิทยาศาสตร์  งานศิลปหัตถกรรม  หรือวันสำคัญอื่นๆ พร้อมกับให้มีการประเมินผลงานตามสภาพจริง  ซึ่งอาจประเมินโดยตนเอง  เพื่อน  และคณะครู


ด้านบนแผงมีส่วนเสริมตามความคิดสร้างสรรค์

ก1
 ข




  ก2

 (ส่วน  ก 1 )

  ชื่อโรงเรียน................



  ชื่อผู้จัดทำ................




  ชื่อครูที่ปรึกษา...............
  จุดประสงค์................




( ส่วน  ก  2  )

  ประโยชน์ของโครงงาน...............




  ข้อเสนอแนะ...............................








( ส่วน  ข  )

  ชื่อโครงงาน




  ที่มาและความสำคัญ
  ทฤษฎีและหลักการ




  ตารางบันทึกผล
  อุปกรณ์
  วิธีดำเนินการ





  สรุปผล



2.รูปแบบของแผงโครงงานอีกรูปแบบหนึ่ง

 
  1
  2





 3
(หมายเลข 1 )


  ชื่อโครงงาน



  ที่มาและความสำคัญ





  วิธีดำเนินงาน





  แผนปฏิบัติงาน

ที่
กิจกรรม
ระยะเวลา
งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือ
ผู้รับผิดชอบ





































(หมายเลข  2 )

  ชื่อโรงเรียน


  ชื่อผู้จัดทำ



  ชื่อครูที่ปรึกษา




  จุดประสงค์




  เป้าหมาย




(หมายเลข  3 )

ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่ม
สิ้นสุด
งบประมาณที่ใช้
การติตามและประเมินผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เอกสารอ้างอิง

ข้อเสนอแนะ  ในการทำแผงนำเสนอโครงงาน   ขนาดของตัวอักษรควรให้อ่านได้ในระยะ  2  เมตร       มีการตกแต่งด้วยกระดาษสี  หรือของตกแต่งอื่นให้สวยงาม  น่าสนใจ
การรายงานโครงงานด้วยวาจา   (หน้าแผงโครงงาน)

ในการแสดงผลงานจะต้องอธิบาย หรือรายงานปากเปล่าหรือตอบคำถามต่างๆ ต่อผู้เข้าชมหรือต่อกรรมการตัดสินโครงงาน  มีข้อควรคำนึงต่อไปนี้
1.  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี
2.  ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับของผู้ฟัง   ชัดเจน  เข้าใจง่าย
3.  ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมา  ไม่วกวนอ้อมค้อม
4.  หลีกเลี่ยงการอ่านรายงานให้ผู้ชมฟังแต่อาจจดหัวข้อสำคัญๆ เพื่อการรายงานเป็นไปตามขั้นตอน
5.  อย่าพูดรายงานแบบท่องจำรายงาน  เพราะจะทำให้ไม่น่าสนใจและไม่เป็นธรรมชาติ
6.  ขณะที่รายงานนั้นควรมองผู้ฟัง
7.  เตรียมตัวตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้พร้อมที่สุด
8.  เวลาตอบคำถามให้ตอบตรงไปตรงมาในสิ่งที่ถาม  หากติดขัดในการอธิบาย  ควรยอมรับโดยดี  อย่ากลบเกลื่อนหรือหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น
9.  ควรรายงานให้เสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
10.     ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงาน
การจัดนิทรรศการแสดงโครงงานให้คำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
1.  ความปลอดภัยของการจัดแสดง
2.  ความเหมาะสมของเนื้อหาที่จัดแสดง
3.  คำอธิบายที่เขียนแสดง  ให้ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ
4.  จัดรูปแบบที่ดึงดูดน่าสนใจ
5.  ใช้ตารางและรูปภาพประกอบ
6.  สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง
7.  ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์  สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้สมบูรณ์